

“สิ่งที่เราอยากเห็นคือ การสร้างซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารธุรกิจในยุคต่อไป สามารถใส่องค์ความรู้และแนวคิด White ocean เข้าไปด้วย ก็จะทำให้ธุรกิจของประเทศมีการทำธุรกิจเชิงคุณธรรมและโปร่งใสมากขึ้นตามไปด้วย และจะส่งผลดีต่อธุรกิจของประเทศให้เติบโตแบบยั่งยืนในระยะยาวตามไปด้วย” ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าว
ที่ผ่านมากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้พยายามผลักดันให้การผลิตซอฟต์แวร์ เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งอนาคต เนื่องจากซอฟต์แวร์มีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรและธุรกิจต่างๆ ให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมแข่งขันในเวทีโลกอย่างเต็มภาคภูมิ และปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มีมูลค่าสูงถึง 69,000 ล้านบาท ซึ่งเชื่อมั่นว่าหากมีการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องจะสร้างเม็ดเงินมหาศาลให้กับประเทศในอนาคต
หัวใจสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องอาศัยพลังของ ‘มนุษย์’ โดยภารกิจหลักคือการพัฒนาทักษะและเพิ่มจำนวนบุคลากรในธุรกิจซอฟต์แวร์ทั้งด้านเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี ตลอดจนการสร้างโอกาสและเครือข่ายของอุตสาหกรรมผ่านเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือระดับภูมิภาคโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย
ดังนั้นเวทีสัมมนาเชิงวิชาการครั้งใหญ่ของซอฟต์แวร์พาร์คครั้งนี้จึงมีความสำคัญต่อคนในแวดวงไอทีและอนาคตของไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นสะพานเชื่อมให้เกิดความร่วมมือและการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ได้โชว์ผลงานของตนเองต่อสังคมธุรกิจซอฟต์แวร์ อีกทั้งจัดนิทรรศการซึ่งมีจุดเด่นคือ เปิดเวทีให้ผู้ประกอบการพบปะและเจรจากันเพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม (Social Network) อันจะนำไปสู่การจับคู่ธุรกิจในแง่มุมของการเป็นคู่ค้า การเป็นลูกค้า รวมถึงการเป็นผู้ร่วมทุน ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการรายเล็กมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้
งานครั้งนี้ตั้งอยู่บนกลยุทธ์ใหญ่คือ Local Link, Global Reach ที่พยายามสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย โดยงานนี้จะเป็นงานระดับประเทศ ซึ่งจะสร้าง Local link ให้เข้มแข็ง เป็นไปตามนโยบายของซอฟต์แวร์พาร์ค ที่ต้องการขยายการสนับสนุนให้ธุรกิจซอฟต์แวร์ทุกพื้นที่ในประเทศเติบโต โดยมีเครือข่ายพี่เลี้ยงของซอฟต์แวร์พาร์คเข้าไปสนับสนุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น